ปัญหาปวดหลังที่คนยุคนี้เป็นกันเยอะ รู้ไหมว่าเราอาจมีอาการปวดคนละจุดกัน ดังนั้นจะมาบอกว่าเรา ปวดหลังเหมือนกันไม่ได้ เพราะแต่ละลักษณะอาการอาจบ่งบอกถึงสาเหตุที่แตกต่างกันไป หากทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ดี เราจะได้แก้ปัญหาของแต่ละคนได้อย่างตรงจุด
อาการปวดหลังที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้ออักเสบ หรือหมอนรองกระดูกเสื่อม
- ปวดหลังส่วนบน (ตั้งแต่ท้ายทอย คอ มาจนถึงช่วงไหล่)
- ปวดหลังส่วนกลาง (บริเวณด้านข้างของแผ่นหลัง ตั้งแต่สะบักไปจนถึงส่วนที่ใกล้เอว)
- ปวดหลังส่วนล่าง (ตั้งแต่เอวหรือระดับสะดือไปจนถึงช่วงเชิงกราน)
- ปวดตามแนวกระดูกสันหลัง
อาการปวดหลังที่เราเป็นกัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง ซึ่งแต่ละคนจะมีการปวดที่แต่ละจุดต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าส่วนไหนของหลังที่เราใช้งานมากที่สุด มาเริ่มต้นลดอาการปวดพร้อมกับปกป้องแผ่นหลังไปด้วยกัน แม้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ อาจมีเงื่อนไขที่ทำได้ยาก แต่การใช้เวลานอนหลับ 7-8 ชั่วโมงที่บ้าน โดยให้แผ่นหลังได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ที่สุด สามารถทำได้ง่ายกว่ากันมาก
ปวดหลังส่วนบน (ตั้งแต่ท้ายทอย คอ มาจนถึงช่วงไหล่)
ส่วนใหญ่เกิดจากการนั่งด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เช่น ทำงานบนเตียงด้วยท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน, จัดตำแหน่งคอมฯ ให้สูงหรือต่ำกว่าระดับสายตามากเกินไป จนหน้าต้องแหงนหรือกดต่ำอยู่เสมอ, ขณะเค้นสมองคิดงานก็เผลอทำท่ากอดอก ยกไหล่ไว้ตลอด รวมไปถึงการก้มดูโทรศัพท์หลายชั่วโมง และการแบกของหนัก ลักษณะท่าทางเหล่านี้เมื่อทำบ่อย ๆ ล้วนส่งผลต่อโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อช่วงคอโดยตรง จนไปถึงบริเวณสะบักหลังได้ด้วย
ปวดหลังส่วนกลาง (บริเวณด้านข้างของแผ่นหลัง ตั้งแต่สะบักไปจนถึงส่วนที่ใกล้เอว)
เกิดจากการมีท่าทางที่ผิดจังหวะกะทันหัน เช่น ออกกำลังกายผิดท่า ก้มยกของโดยไม่ได้ย่อขาลงไปก่อน มักเกิดในหมู่นักกีฬาหรือคนใช้แรงงาน ผลคือกล้ามเนื้อจะเกิดการอักเสบอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อให้กล้ามเนื้อที่ปวดได้พักการใช้งานเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นได้เอง
ปวดหลังส่วนล่าง (ตั้งแต่เอวหรือระดับสะดือไปจนถึงช่วงเชิงกราน)
อาการปวดที่เกิดขึ้น พบว่ามีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง สาเหตุของการปวดบริเวณนี้มีหลากหลาย มีทั้งมาจากท่านั่ง เช่น นั่งไขว่ห้างแบบผิด ๆ ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน, ท่าก้มเก็บของโดยเน้นออกแรงจากส่วนหลัง, ออกกำลังกายน้อยจนกล้ามเนื้อช่วงเอวขาดการยืดหยุ่น, น้ำหนักเกินเกณฑ์ ตั้งครรภ์ ทำให้ข้อต่อช่วงล่างลงไปทำงานหนักมากกว่าเดิม, นอนมากเกินไปจนกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง หรือที่นอนไม่ใช่เตียงยางพารา ทำให้สรีระขณะนอนไม่มีการรองรับที่ดีพอ
ปวดตามแนวกระดูกสันหลัง
อาการจะไม่เหมือนการปวดหลังส่วนกลาง ที่เน้นเกิดบริเวณด้านข้างลำตัว แต่เป็นการปวดช่วงกลางแผ่นหลังโดยตรง ตั้งแต่แนวกระดูกสันหลังส่วนบนไล่ลงมาถึงส่วนล่าง มีความเป็นไปได้สูงว่าความผิดปกติไม่ได้เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ แต่เป็นเพราะองค์ประกอบส่วนใดส่วนส่วนหนึ่งเหล่านี้ ได้แก่ กระดูกสันหลัง ข้อต่อ หมอนรองกระดูก หรือเอ็นยึดกระดูก กำลังมีปัญหา
โดยทางการแพทย์คาดว่า เป็นผลมาจากการก้ม ๆ เงย ๆ มากเกินไป หรือยกของหนักเป็นประจำ กลุ่มคนที่เสี่ยงมากที่สุด มักเป็นคนทำงานก่อสร้าง พนักงานส่งของ รวมถึงพนักงานออฟฟิศที่ไม่ได้ใช้เก้าอี้แบบมีพนักพิง ซึ่งแนวกระดูกสันหลังจะรับภาระหนักกว่าคนทำอาชีพอื่น
ปวดหลังแบบไหนควรพบแพทย์
ปกติอาการปวดหลังดังที่กล่าวไปจะหายได้เอง หากหลีกเลี่ยงการใช้งานช่วงหลังสักพัก ทำท่าบริหารแก้ปวดหลังบ้าง รวมทั้งกินและทานยาระงับอาการปวด แต่หากคุณพบว่ากำลังมีอาการต่อไปนี้ แนะนำว่าควรพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะมีความเป็นไปได้ว่า หมอนรองกระดูกของคุณเสื่อมสภาพจนแตกและกดเบียดเส้นประสาท
- อาการปวดไม่ทุเลาลง หรือปวดมากขึ้น
- ปวดเป็นเวลานานมากกว่า 6 สัปดาห์
- นอกจากมีอาการปวดแล้ว ยังพบอาการเจ็บแปลบเหมือนเข็มทิ่ม หรือปวดร้าวลงแขน ขา รวมทั้งเสียวไปถึงปลายนิ้วมือ
- เกิดอาการมือชา เท้าชา โดยที่ปกติไม่ได้เป็นคนชอบนอนทับแขน หรือนอนท่าตะแคง
- รู้สึกได้ว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรง ยกแขนไม่ขึ้น หยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ ไม่ได้ เห็นได้ชัดที่สุดคือตอนเขียนหนังสือหรือติดกระดุม รวมทั้งไม่ค่อยมีแรงเดิน
- ปวดบริเวณก้นกบ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ถูกกระแทก
- มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ทั้งกลั้นไม่อยู่หรือขับถ่ายไม่ออก ถือเป็นสัญญาณเตือนสุดท้ายของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ถ้าปัสสาวะแล้วแสบขัด มีสีขุ่น มีไข้ และปวดหลังส่วนเอวมากกว่าจุดอื่น อาจเป็นผลมาจากมีก้อนนิ่วในไตหรือไตอักเสบ
อาการปวดหลังที่เราเป็นกัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง ซึ่งแต่ละคนจะมีการปวดที่แต่ละจุดต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าส่วนไหนของหลังที่เราใช้งานมากที่สุด มาเริ่มต้นลดอาการปวดพร้อมกับปกป้องแผ่นหลังไปด้วยกัน แม้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ อาจมีเงื่อนไขที่ทำได้ยาก แต่การใช้เวลานอนหลับ 7-8 ชั่วโมงที่บ้าน โดยให้แผ่นหลังได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ที่สุด สามารถทำได้ง่ายกว่ากันมาก
เราจึงต้องรู้จักการเลือกเตียงนอนที่ดีต่อสุขภาพ นั่นก็คือ เตียงยางพารา ที่นอนยางพาราเสริมคุณภาพการนอนให้กับตัวเอง จะทำให้ปัญหานอนหลับยากหายไปเป็นปลิดทิ้ง คุณสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยางพาราแท้ของดี มีคุณภาพ เลือก Khwan Andaman Latex สิคะ รับรองเลยว่าได้ของแท้ คุณภาพแน่นๆ ไม่มีผิดหวัง